WCE พาไปเจาะลึกเบื้องหลัง สะพานชื่อดังแต่ละแห่ง ! 

“สะพาน” คือสิ่งก่อสร้างนวัตกรรมขั้นสูงในอดีตที่ช่วยเปลี่ยนโลกของการคมนาคม และพาผู้คนข้ามจากฟากหนึ่งไปสู่ฟากหนึ่งให้สามารถเดินทางได้สะดวกรวดเร็วและช่วยย่นระยะทางและระยะเวลาได้เป็นอย่างดี แต่เคยสังเกตหรือไม่? ว่ารูปแบบสะพานแต่ละแห่งนั้นทำไมถึงมีหน้าตาไม่เหมือนกัน? ไม่ว่าจะต่างที่รูปลักษณ์หน้าตา วัสดุ ขนาด ฯลฯ ซึ่งนอกจากจะเป็นเรื่องของการใช้งานและความสวยงามแล้ว เบื้องหลังของการก่อสร้างสะพานต่าง ๆ นั้นมีประวัติความเป็นมาและหลักการทางด้านวิศวกรรมที่เป็นหัวใจหลักซ่อนอยู่สำหรับ “สะพานเหล็ก” ที่ใช้เหล็กเป็นวัสดุในการก่อสร้าง อย่างที่หลายๆ คนทราบดีว่า เหล็กมีคุณสมบัติที่มีความคงทนแข็งแรง มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน จึงนิยมนำมาก่อสร้างสิ่งก่อสร้างพื้นฐานของประเทศ และทำให้การก่อสร้าง “สะพานเหล็ก” เป็นการลงทุนที่คุ้มค่าในแง่ของการใช้งบประมาณในการพัฒนาประเทศ ดังนั้น วันนี้เราจะขอพาไปชวนดูสะพานเหล็กดัง ๆ แต่ละแห่งในประเทศไทย ว่ามีเรื่องราวเบื้องหลัง และประวัติความเป็นมาเป็นอย่างไร แล้วทำไมสะพานที่เราคุ้นเคยถึงสร้างออกมาเป็นแบบที่เราเห็นอยู่ในปัจจุบันนี้? วันนี้ WCE ขอพาไปเจาะลึกเบื้องหลังสะพานชื่อดังทั้ง 4 สะพาน อย่างสะพานพุทธยอดฟ้า (กรุงเทพ), สะพานพระราม 9 (กรุงเทพ), สะพานพระราชวังจันทน์ (พิษณุโลก) และสะพานคานขึงรถไฟ (ราชบุรี) ที่มีรูปแบบสะพาน มีหน้าที่การใช้งาน และโลเคชั่นที่แตกต่างกันไป โดยที่แต่ละรูปแบบนั้นมีเบื้องหลังทางด้านวิศวกรรมซ่อนอยู่ ไปดูกันว่าสะพานแต่ละแห่งนั้นมีรูปแบบสะพานเป็นอย่างไร และใช้หลักวิศวกรรมแบบใดบ้าง

1. สะพานพระพุทธยอดฟ้า

สะพานพระพุทธยอดฟ้า หรือที่เรารู้จักในชื่อ “สะพานพุทธ” เป็นสะพานที่สร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ด้วยเทคโนโลยีการก่อสร้างขั้นสูงและเทคโนโลยีใหม่ในสมัยนั้น ซึ่งเป็นสะพานขนาดใหญ่แห่งแรกที่ก่อสร้างด้วยเหล็กที่สามารถเปิด-ปิดสะพานได้ เพื่อให้เรือขนาดใหญ่ผ่านไปได้อย่างคล่องตัว เนื่องจากบริเวณดังกล่าวเป็นเส้นทางการสัญจรของเรือขนาดใหญ่ในบริเวณแม่น้ำเจ้าพระยา

สะพานดังกล่าวเป็นสะพานสำหรับการสัญจรด้วยรถยนต์เพื่อข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาจากฝั่งพระนครไปสู่ฝั่งธนบุรี มีขนาดสะพานเหล็กยาว 229.76 เมตร กว้าง 16.68 เมตร ท้องสะพานสูงเหนือน้ำ 7.50 เมตร ซึ่งในขณะที่สะพานเปิดออก จะมีช่องกว้างขนาด 60 เมตร ให้เรือขนาดใหญ่แล่นผ่านได้

บริษัท เมสส์ ดอร์แมน ลอง จำกัด (Messrs Dorman Long & Co.Ltd, Middlesbrough, England) จากอังกฤษ เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างสะพานแห่งนี้ โดยมีการสร้างตอม่อคอนกรีตเสริมเหล็กอยู่กลางแม่น้ำเพื่อรองรับโครงสร้างสะพานด้านบนโดยที่ทำจากเหล็ก สะพานดังกล่าวมีรูปแบบเป็นสะพานโครงถัก (Truss) ซึ่งเป็นรูปแบบที่ช่วยผ่อนแรงบีบอัดด้านบนสะพานหรือรับแรงดึงที่พื้นผิวด้านใต้สะพาน เป็นโครงสร้างที่มีน้ำหนักเบา สวยงาม แต่รับน้ำหนักได้มาก รูปแบบโครงถักเหมาะกับสะพานที่มีความยาว โดยสามารถนำมาวางพาดโดยไม่ต้องมีเสาค้ำตรงกลางได้ ซึ่งนับว่าสะพานพระพุทธยอดฟ้าเป็นสะพานที่ทันสมัยที่สุดในประเทศในสมัยนั้น

2. สะพานพระราม 9

สะพานพระราม 9 หรือที่รู้จักกันในชื่อสะพานแขวน ซึ่งเป็นสะพานขึงระนาบเดี่ยวแห่งแรกของประเทศไทย สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2530 เป็นอีกหนึ่งสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่ใช้สำหรับสัญจรของรถยนต์ มีลักษณะเป็นสะพานชนิด Single Plane Fan Type Cable-Stayed Bridge หรือสะพานขึงที่ใช้สายเคเบิลขนาดใหญ่ ขึงในระนาบเดี่ยวไว้กับเสาสูงด้านบนของสะพาน เพื่อรับน้ำหนักของสะพาน สะพานพระราม 9 มีความยาวรวมทั้งหมด 2,716 เมตร ความยาวเฉพาะส่วนสะพานมีความยาว 782 เมตร มีความสูงจากระดับน้ำ 41 เมตร

การก่อสร้างสะพานขึง (Cable Stay bridge) เหมาะกับสะพานที่มีความยาวช่วงกลางมากกว่ารูปแบบสะพานยื่น (cantilever bridge) แต่สั้นกว่าสะพานแขวน (Suspension bridge) โดยสะพานรูปแบบนี้ใช้สลิงขนาดใหญ่ที่ยึดอยู่กับโครงเสารับน้ำหนักแรงดึงของสะพาน มีจุดรวมแรงสำหรับรับน้ำหนักเพียงจุดเดียวคือบริเวณโครงเสา อีกทั้งสายเคเบิลยังทำหน้าที่สร้างสมดุลให้กับสะพาน ทำให้ตอม่อรับน้ำหนักที่ถ่ายมาจากสายเคเบิลและจากสะพานไปพร้อมๆ กัน

3. สะพานพระราชวังจันทน์ จ.พิษณุโลก

สะพานพระราชวังจันทน์ หรือที่รู้จักในชื่อสะพานข้ามแม่น้ำน่าน แลนด์มาร์คแห่งใหม่ของจังหวัดพิษณุโลก ที่เชื่อมต่อไปยังฝั่งตะวันออกของแม่น้ำน่านบริเวณวัดวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร สะพานมีความยาวทั้งหมดรวม 116 เมตร โดยใช้รูปแบบของสะพานเหล็กโค้ง (Steel Arch Bridge) ความยาวช่วง 80 เมตร โดยไม่ต้องมีตอม่ออยู่กลางแม่น้ำ ซึ่งทำให้มีความสวยงาม ทันสมัย และไม่เป็นอุปสรรคต่อประเพณีการแข่งเรือยาวที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีอีกด้วย 

ส่วนโครงสร้างเหล็กโค้งนี้ จะใช้แรงอัดหรือแรงกดของวัสดุเป็นแรงต้านทานในการรับน้ำหนัก น้ำหนักของตัวสะพานจะถูกถ่ายน้ำหนักในรูปแบบของแรงอัดในแนวแกนเป็นหลัก ช่วยถ่ายเทแรงให้กระจายมาอยู่ตามเสาโค้งของสะพาน ทำให้โครงสร้างสะพานเหล็กมีรูปร่างบางและสวยงาม สะพานแห่งนี้ถือเป็นสะพานเหล็กโค้งแห่งแรกของประเทศไทย

ความพิเศษของสะพานพระราชวังจันทน์แห่งนี้ คือเราก่อสร้างโดยใช้รูปแบบของสะพานเหล็กโค้ง (Steel Arch Bridge) ความยาวทั้งหมดรวม 116 เมตร และมีความยาวช่วง 80 เมตร โดยไม่ต้องมีตอม่ออยู่กลางแม่น้ำ นอกจากจะเป็นสะพานที่มีความสวยงามทันสมัยแล้ว ยังมีความแข็งแรงสูง และไม่เป็นอุปสรรคต่อประเพณีการแข่งเรือยาวที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีอีกด้วย และสะพานพระราชวังจันทน์ยังถือเป็นสะพานเหล็กโค้งแห่งแรกของประเทศไทยอีกด้วย

4. สะพานคานขึงรถไฟ

สะพานคานขึงรถไฟ หรือสะพานรถไฟในจังหวัดราชบุรี เป็นสะพานหนึ่งในเส้นทางของทางรถไฟทางคู่ ช่วงนครปฐม-หนองปลาไหล ตั้งขนานกับสะพานจุฬาลงกรณ์หรือสะพานรถไฟข้ามแม่น้ำแม่กลองของจังหวัดราชบุรี ซึ่งพื้นที่บริเวณดังกล่าวเป็นจุดทิ้งระเบิดของฝ่ายสัมพันธมิตรในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ทำให้สะพานจุฬาลงกรณ์ได้พังลง พร้อมกับใต้น้ำนั้นก็ได้มีส่วนหัวรถจักรและระเบิดอีก 7 ลูกจมน้ำอยู่ใต้น้ำอีกด้วย 

แม้จะเป็นระเบิดที่ยังไม่ระเบิด (Unexploded Ordnance: UXO) แต่การเก็บกู้ระเบิดทั้งหมดนั้นอาจก่อให้เกิดผลเสียมากกว่า ทำให้โครงการในการก่อสร้างรถไฟทางคู่ที่ต้องผ่านบริเวณนี้ ต้องทำการวางแผนและออกแบบในการก่อสร้างอย่างละเอียดรอบคอบ จึงได้ใช้เทคนิคทางวิศวกรรมแบบพิเศษ โดยใช้เป็นรูปแบบสะพานคานขึง (Extradosed Bridge) ที่มีความยาวทั้งหมด 340 เมตร และส่วนสะพานข้ามแม่น้ำยาว 160 เมตร โดยสร้างตอม่ออยู่บนฝั่ง 2 แม่น้ำ ไม่มีการสร้างตอม่อลงใต้น้ำเหมือนกับที่อื่น

สะพานแห่งนี้เป็นการผสมผสานระหว่างสะพานขึงและสะพานคอนกรีตแบบ (Balance Centilever) ที่ใช้สายเคเบิลในการช่วยรับแรง ซึ่งสะพานคานขึง (Extradosed Bridge) มีความคล้ายคลึงกับสะพานขึง (Cable-Stayed Bridge) เนื่องจากมีเสาสูงอยู่เหนือสะพานและมีส่วนของเคเบิลขึงเพื่อรับน้ำหนักของสะพาน แต่รูปแบบของสะพานคานขึงนั้น เสากลางจะมีความสูงน้อยกว่า และติดตั้งเคเบิลที่ความชันน้อยกว่า ซึ่งจะใช้การรับน้ำหนักอยู่ระหว่าสะพานขึงกับสะพานคอนกรีต ทำให้สะพานรูปแบบนี้แห่งนี้เป็นสะพานคานขึงรถไฟแห่งแรกในประเทศไทย

จะเห็นได้ว่าสะพานเหล็กชื่อดังแต่ละแห่งนั้นมีรูปแบบของสะพานที่แตกต่างกันไปตามลักษณะการใช้งาน และตามแต่เทคโนโลยีที่ใช้ในการก่อสร้างในแต่ละยุคสมัย อีกทั้งยังมีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก แต่สิ่งที่มีร่วมกันคือความปลอดภัยของผู้ใช้งานที่ผ่านการคำนวณตามหลักวิศวกรรมและควบคุมกระบวนการก่อสร้างให้เป็นไปตามมาตรฐาน เพราะสะพานเป็นโครงสร้างพื้นฐานในระบบสาธารณูปโภคที่ใช้งานโดยผู้คนจำนวนมากอยู่ตลอดเวลา เช่นเดียวกันกับบริการของ

Fabrication Service Business Unit by WCE ผู้มีประสบการณ์ในงานบริการผลิตและประกอบโครงสร้างเหล็กสะพานรถไฟมากกว่า 5 แห่งในประเทศไทย และสะพานเหล็กชื่อดังอื่น ๆ ด้วยบริการ Fabrication Steel Bridge (FSB) เราเป็นผู้เชี่ยวชาญในงานโครงสร้างเหล็ก ผลิตชิ้นส่วนเหล็ก ดำเนินงานด้วยเทคโนโลยีทันสมัย และบุคคลากรที่ได้รับการรับรองทักษะตามมาตรฐาน และในปัจจุบันเรายังศึกษา ค้นคว้า และขยายตลาดออกสู่อุตสาหกรรมอื่น ๆ รวมถึงงานสะพานตอม่อคอนกรีต เพื่อรองรับการให้บริการที่หลากหลายได้ในอนาคต

Contact Us

West Coast Engineering Company Limited (WCE)
🌐 www.wce.co.th
✉️ international@wce.co.th
📞 +66 (0) 2234-9889

Your Turn Key Engineering Solution
We engineer your sucCEss 

✉️

Purchasing Department : phaiboono@wce.co.th   |   Human Resources and Administration Department : hrmwce@wce.co.th   |   Sales Department : international@wce.co.th

Headquarters Bangkok

16 K&Y Building 5 Fl., Surasak Road, Silom Sub-District, Bangrak District, Bangkok, 10500
Telephone +66 (0) 2234 9487-89
Mobile Phone +66 (06) 5937 6283 
Fax +66 (0) 2233 6669

Factory Bang Saphan

9/1 Moo 4, BanKlangNa – YaiPloy Road, Maeramphueng, BangSaphan, PrachuapKhiriKhan 77140
Telephone +66 (0) 3290 6112 – 119
Fax +66 (0) 3290 6120